Posted in วิเคราะห์ โคลนติดล้อ ตอน ความเป็นเสมียน

วิเคราะห์คุณค่า โคลนติดล้อ ตอน นิยมความเป็นเสมียน

คุณค่าด้านเนื้อหา

๑) รูปแบบ  บทความเรื่องโคลนติดล้อ  ตอน  ความนิยมเป็นเสมียนเป็นงานเขียนประเภทร้อยแก้วที่ให้ทั้งความรู้และความคิด  มีเนื้อหาสร้างสรรค์ทรงคุณค่า  ซึ่งเป็นการใช้รูปแบบงานเขีนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหา

๒)  องค์ประกอบของเรื่อง

๒.๑  สาระ  เป็นการแสดงความคิดเรื่องค่านิยมเกี่นวกับอาชีพที่คนทั่วไปมักนิยมยกย่องข้าราชการ  และผู้ที่ทำงานในสำนักงาน  จนมองข้ามความสำคัญของอาชีพอื่น  เหมือนโคลนติดล้อรถ

๒.๒  โครงเรื่อง  บทความเรื่องโคลนติดล้อ  ตอน  ความนิยมเป็นเสมียน  เป็นร้อยแก้วแสดงความคิดเห็น  ที่มีองค์ประกอบของบทความครบทั้ง  ๓  ส่วน  คือ

ส่วนนำ  :  มีการใช้ข้อความที่ต่อเนื่องจากบทที่  ๓  เรื่องการบูชาหนังสือจนเกินเหตุ  ดังนั้น ผู้อ่านบทความโคลนติดล้อที่ลงพิมพ์อย่างต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์สยามออฟเซอร์เวอร์  จะเห็นการเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาที่พระองค์ทรงเปิดประเด็นมุมมองถึงความเสียหายที่จะตามมาของผู้ที่รับการศึกษาในระบบโรงเรียนมีมากขึ้น

ส่วนเนื้อเรื่อง  :  มีการแบ่งออกเป็นย่อหน้าทั้งหมด  ๗  ย่อหน้า  แต่ละเรื่องโยงกันเป็นลำดับ  ตั้งแต่การตั้งความหวังในอนาคตเมื่อเรียนจบ  โดยลืมพื้นความหลังทางวัฒนธรรมว่าสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม  แต่ละย่อหน้ามีการอธิบายและการยกตัวอย่างชัดเจน

ส่วนสรุป  :  ผู้เขียนได้กล่าวถึงหนทางการแก้ปัญหา  และใช้กลวิธีในการปิดเรื่องโดยใช้คำถามในบรรทัดสุดท้ายว่า  “เพราะฉะนั้นท่านจะไม่ช่วยกันบ้างหรือ”

กลวิธีในการแต่ง  บทความเรื่องโคลนติดล้อ  ตอน ความนิยมเป็นเสมีียน  ผู้ประพันธ์มีกลวิธีการเขียนที่ชวนอ่าน  น่าติดตาม  มีการลำดับเนื้อหาเป็นขั้นตอน  อ่านเข้าใจง่าย  โดยแบ่งย่อหน้ายาวสั้นสลับกันไป  รวม  ๑๑  ย่อหน้า  แต่ละย่อหน้าทีประเด็นสำคัญ  มีเนื้อหาสาระน่าสนใจ  และมีการนำเสนอต่อเนื่องสัมพันธ์กันอย่างดี  เริ่มต้นจากคำนำที่จูงใจให้ผู้อ่านสนใจติดตาม  โดยการนำเสนอปัญหาที่เกิดจากการให้การศึกษาแก่ประชาชน  ซึ่งผู้ประพันธ์แสดงความคิดเห็นว่า  “ให้ผลเป็นที่น่ารำคาญ”  ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจติดตามหาคำตอบไม่ว่าปัญหานั้นคืออะไรในส่วนของเนื้อหาที่นำเสนอแต่ละย่อหน้า  ผู้ประพันธ์ไดอธิบายเนื้อหา  ความสำคัญ  แสดงเหตุผล  ใช้ตัวอย่างประกอบได้อย่างชัดเจน  บางครั้งมีการกระตุ้นให้ผู้อ่านคิดโดยใช้คำถามให้ผู้อ่านนำไปคิดต่อ  นับเป็นวิธีการประพันธ์ที่มีคุณค่า  ใช้เป็นแบบอย่างขอองบทความแสดงความคิดเห็นได้เป็นอย่างดี

๓) แนวคิดของผู้เขียน

๑)  ความหมายของคำว่าเสมียน  การเป็นเสมียนความหมายของผู้เขียน  หมายถึง  อาชีพที่ทำงานในบริษัท    สำนักงาน  ทั้งเอกชนและของรัฐบาล  เป็นผู้ที่ได้รับเงินเดือนเป็นประจำทุกเดือน

๒)  ทุกอาชีพมีความสำคัญเหมือนกัน  อาชีพทุกอาชีพเป็นอาชีพที่มีเกียรติยศเท่าๆ กัน  สามารถทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้เหมือนกัน

๓)  ความนิยมเป็นเสมียน  ความนิยมเป็นเสมียนเปรียบเหมือนโคลนอีกก้อนที่ติดล้อรถ  เป็นตัวถ่วงความเจริญ  เพราะค่านิยมของคนที่เห็นอาชีพเสมียนเป็นอาชีพที่มีเกียรติกว่าอาชีพอื่นๆ  ในสังคม  ทำให้ผู้มีความรู้ความสามารถจำนวนมากมายึดติดอยู่กับตำแหน่ง  ยศศักดิ์  ทั้งๆ ที่ถ้าไปประกอบอาชีพอื่นจะได้ประโยชน์มากกว่า

๔)  การใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อ  ผู้ที่นิยมเป็นเสมียนในยุคสมัยนั้น  มักมีฐานะความเป็นอยู่ที่เกินฐานะ  โดยเฉพาะการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเพื่อรักษาเกียรติยศและ

หน้าตาของตน

๕)  ความสำคัญของการเกษตร  ชาวไร่  ชาวนา  ชาวสวน  เป็นผู้ผลิต  มีความสำคัญอย่างยิ่งในประเทศเกษตรกรรมแบบไทย

๖)  การมองข้ามความสำคัญของท้องถิ่น  ชายหนุ่มที่เข้ามาทำงานในเมืองมักลืมถิ่นฐานบ้านเกิด ไม่ยอมกลับไปทำงานในภูมิลำเนาของตน

๗)  ค่านิยมเกี่ยวกับอาชีพ  คนทั่วไปมักยกย่องข้าราชการและผู้ที่ทำงานในสำนักงาน  จนมองข้ามความสำคัญของอาชีพอื่น

๘)  อิทธิพลของสื่อมวลชน  สื่อมวลชนและสาธารณชนมีอิทธิพลอย่างมากในการเผยแพร่ความคิด  โดยการยกย่องให้เกียรติชาวนาจะทำให้เกิดกระแสของคนทั่วไปตามมา

๙)  ความไม่มั่นคงในอาชีพทำให้เกิดปัญหาในสังคมตามมา  ผู้ที่ต้องออกจากอาชีพที่ตนทำเมื่ออายุมากขึ้น  มักถูกชักจูงให้ประพฤติทุจริตได้ง่ายเมื่อจับแนวคิดของผู้เขียนได้ดังกล่าวแล้ว  จะต้องหาเหตุประกอบการพิจารณา  ได้แก่สภาพของสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่  ๖

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

๑. การสรรคำ  ในแง่ของศิลปะการประพันธ์  ทรงพระราชนิพนธ์โดยสำนวนภาษาที่เรียบง่าย  แต่แฝงไว้ด้วยศิลปะการใช้ภาษา  ทำให้บทความน่าอ่านและน่าติดตามดังต่อไปนี้

๑.๑ ใช้ถ้อยคำเรียบง่าย  สื่อความตรงไปตรงมา มีการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษบ้างดังตัวอย่าง

“..เด็กทุก ๆ คนซึ่งเล่าเรียนสำเร็จออกมาจากโรงเรียนล้วนแต่มีความหวังฝังอยู่ว่าจะได้มาเป็นเสมียน หรือเป็นเลขานุการ และจะได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งขึ้นเร็ว ๆ เป็นลำดับไป เด็กที่ออกมาจากโรงเรียนเหล่านี้ย่อมเห็นว่ากิจการอย่างอื่นไม่สมเกียรติยศนอกจากการเป็นเสมียน ข้าพเจ้าเองได้เคยพบเห็นพวกหนุ่ม ๆ ชนิดนี้หลายคนเป็นคนฉลาดและว่องไว และถ้าหากเขาทั้งหลายนั้นไม่มีความกระหายจะทำงานอย่างที่พวกเขาเรียกกันว่า “งานออฟฟิศ” มากีดขวางอยู่แล้ว เขาก็อาจจะทำประโยชน์ได้มาก..”

๑.๒ การซ้ำคำ  เพื่อเน้นย้ำแสดงความหนักแน่นของความ  ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตาม  เช่น

“ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครรู้จัก ไม่มีใครรัก ไม่มีใครอาลัย เป็นการลงเอยอย่างมืดแห่งชีวิตที่มืดไม่มีสาระ”

๑.๓  การใช้โวหาร  ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพและเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น  เช่น  ชื่อเรื่องบทความ  “โคลนติล้อ”  เป็นการใช้โวหารภาพพจน์แบบอุปลักษณ์  โคลนหมายถึง  ปัญหาและอุปสรรคที่กีดขวางความเจริญของประเทศชาติเหมือนโคลนที่ติดล้อรถทำให้รถเคลื่อนไปได้ไม่สะดวก

นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาพพจน์แบบอุปมา  เป็นการใช้ความเปรียบเทียบให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตามและเห็นด้วย  ดังตอนที่กล่าวถึงผู้นิยมความเป็นเสมียนว่า“..ถ้าจะเปรียบพืชที่เขาได้ทำให้งอกต้องนับว่าน้อยกว่าผลที่เขาได้กินเข้าไป ..”

คุณค่าด้านสังคม

๑. สะท้อนภาพชีวิตและค่านิยมของสังคมไทยในอดีต  เมื่อผู้อ่านได้อ่านบทความแล้ว  จะมองเห็นภาพสังคมและค่านิยมของผู้คนในสมัยรัชกาลที่ ๖  ได้เป็นอย่างดี  เช่น  ค่านิยมที่ยกย่องคนรับราชการ  ทำให้ผู้มีการศึกษาชีชีวิตอยู่ในเมืองหลวง  ไม่กลับไปประกอบอาชีพในภูมิละเนาของตน  ดังตัวอย่าง

“..เขาตอบว่าเขาเป็นผู้ที่ได้รับความศึกษามาจากโรงเรียนแล้ว ไม่ควรจะเสียเวลาไปทำงานชนิดซึ่งคนที่ไม่รู้หนังสือก็ทำได้ และเพราะเขาไม่อยากจะลืมวิชาที่เขาได้เรียนรู้มาจากโรงเรียนนั้นด้วย เพราะเหตุนี้เขาสู้สมัคร อดอยากอยู่ในกรุงเทพฯ ได้เงินเดือนเพียงเดือนละ ๑๕ บาทหรือ ๒๐ บาท ยิ่งกว่าที่จะกลับไปประกอบการเพื่อเพิ่มพูนความสมบูรณ์แห่งประเทศในภูมิลำเนาเดิมของเขา..”

ค่านิยมผิดๆ  ของผู้ที่นิยมเป็นเสมียน  ซึ่งส่งผลให้ต้องอดทนต่อความลำบาก  เพราะต้องใช้ความเป็นอยู่แบบเกินฐานะใช้จ่ายอย่างสุรุ่นสุร่าย  เพื่อรักษาเกียรติและหน้าตาของคน  ดังตัวอย่าง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อีสาน ชนบท        “..ในเงินเดือน ๑๕ บาทนี้พ่อเสมียนยังอุตส่าห์จำหน่ายจ่ายทรัพย์ได้ต่าง ๆ เช่นนุ่งผ้าม่วงสี ใส่เสื้อขาว สวมหมวกสักหลาด และในเวลาที่กลับจากออฟฟิศแล้วก็ต้องสวมกางเกงแพรจีนด้วย และจะต้องไปดูหนังอีกอาทิตย์ละ ๒ ครั้งเป็นอย่างน้อย..”

๒. ทราบปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในอดีต  บทความนี้ทำให้เราทราบว่าสมัยรัชกาลที่  ๖  ปัญหาที่คอบขัดขวางถ่วงความเจริญของบ้านเมืองในขณะนั้นว่ามีอะไรบ้าง  เช่น  การเชื่อถือข้อความทางหนังสือพิมพ์ที่ยังไม่ได้พิจารณาข้อเท็จจริง  ชายหนุ่มที่เข้ามาทำงานในเมืองแล้วไม่กลับไปประกอบอาชีพในภูมิลำเนาของตน

๓. สะท้อนข้อคิดที่สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต  บทความเรื่องโคลนติดล้อ ให้ข้อคิดแก่คนในสังคมไทยได้เป็นอย่างดีว่า  ไม่ควรลืมรากฐานของตนเอง  ไม่ดูถูกอาชีพเกษตรกรรม  ไม่ควรใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเกินรายและฐานะทางเศรษฐกิจของตนและที่สำคัญควรรู้จักใช้ความรู้ความสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างเต็มที่  ซึ่งข้อคิดนี้ยังไม่ล้าสมัยสามารถนำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดีในปัจจุบัน

การนำข้อคิดจากบทความเรื่อง  โคลนติดล้อไปใช้ในชีวิตประจำวันจึงเป็นการเปลี่ยนโลกทัศน์และแนวคิดแบบใหม่  ซึ่งถ้าผู้อ่านเห็นด้วย  คนไทยก็จะไม่ทิ้งภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทยที่เคยเป็นมา  และควรส่งเสริมให้เยาชนไทยในสมัยปัจจุบันไม่ให้ลืมถิ่นกำเนิดของตนและต้องสนับสุนนให้ผู้มีความรู้ความสามารถกลับไปช่วยพัฒนาท้องถิ่นของตน

Posted in แบบทดสอบ เรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

แบบทดสอบ เรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน

เรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

1296136699

คำสั่ง  จงเลือกคำตอบที่ถูกสุดเพียงคำตอบเดียว

๑. ใครคือผู้จัดทำตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับสมบูรณ์

ก.   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ข.   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ค.   พระยาพิศณุประสาทเวช  (คง  ถาวรเวช)

ง.   กรมพระอาลักษณ์

๒. ข้อใดไม่จัดอยู่ในคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

ก.   ตักกะศิลา

ข.   โอสถศาลา

ค.   ปฐมจินดา

ง.   โรคนิทาน

๓.  คัมภีร์ฉันทศาสตร์กล่าวไว้ว่าสิ่งใดที่ทำให้เกิดโรคได้

ก.  โทโส

ข.   โลโภ

ค.   ความรู้

ง.   ไฟป่า

๔. ข้อใดหมายถึงสัญญาณบอกว่าใกล้ตาย

ก.   มหาโชตรัต

ข.   มรณญาณ

ค.   ธาตุบรรจบ

ง.   โรคนิทาน

๕.  ข้อใดควรปฏิบัติและควรมีในตนเองหากนักเรียนเป็นแพทย์

ก.   กาเม

ข.   โทโส

ค.   ศีล

ง.   โลโภ

 

๖.     “บางแพทย์ก็หลงเล่ห์     ด้วยกาเมเข้าปิดบัง

     รักษาโรคด้วยกำลัง            กิเลสโลภะเจตนา”        คำที่ขีดเส้นใต้ หมายถึงอะไร

ก.   ความโลภ

ข.   ความโกรธ

ค.   ความริษยา

ง.   ความใคร่

๗.  “เรียนรู้ให้แจ้งกระจัด           เห็นโรคชัดอย่าสงสัย

       เร่งยากระหน่ำไป                    อย่าถือใจว่าลองยา”       ข้อความนี้เป็นการแสดงทรรศนะอย่างไร

ก.   ตักเตือน

ข.   ชี้แนะ

ค.   สั่งสอน

ง.   ปลอบใจ

๘.  ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงในคัมภีร์ฉันทศาสตร์

ก.   ลักษณะของแพทย์

ข.   ศีลแปดศีลห้า

ค.   บทไหว้ครู

ง.   สถานที่ปลูกยา

๙.  คุณค่าของคัมภีร์ฉันทศาสตร์คือข้อใด

ก.   สอนให้ละเว้นความชั่ว

ข.   ให้เห็นความสำคัญของแพทย์

ค.   เป็นต้นตำรับของไสยศาสตร์

ง.   บอกรายละเอียดของโรงเรียนราชแพทยาลัย

๑๐. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคัมภีร์ฉันทศาสตร์

ก.   เป็นคัมภีร์หมวดหนึ่งในแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

ข.   กล่าวถึงอาการและการรักษาโรค

ค.   กล่าวถึงวิธีการตั้งโอสถ ศาลา

ง.   เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมเนื้อหาจากคัมภีร์อื่นๆ

Posted in แบบฝึกทักษะ โคลนติดล้อ ตอนนิยมความเป็นเสมียน

แบบฝึกทักษะ โคลนติดล้อ ตอน นิยมความเป็นเสมียน

แบบฝึกทักษะ โคลนติดล้อ ตอน นิยมความเป็นเสมียน

line-เส้นคั่น.png0034

แบบฝึกหัด เรื่อง โคลนติดล้อ

คำสั่ง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

          ๑.   คำว่า “โคลนติดล้อ” ตามความหมายของผู้แต่ง หมายความว่าอย่างไร

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

๒.  เรื่องโคลนติดล้อ  ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือเล่มใด

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

๓.  โคลนติดล้อ มีทั้งหมดกี่ตอน  ตอนที่นำมาให้นักเรียนศึกษานี้คือตอนใด

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

๔.  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้นามแฝงในการทรงพระราชนิพนธ์

“โคลนติดล้อ” ว่าอย่างไร

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

๕.  ผู้ที่เขียนบทความ “ล้อติดโคลน” คือใคร มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งใด

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

๖.  บทความ “ล้อติดโคลน” ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือเล่มใด

……………………………………………………………………………………………………………………………….

๗.  โคลนติดล้อ ตอนความนิยมเป็นเสมียน ตีพิมพ์ลงในหนังสือเล่มใด

……………………………………………………………………………………………………………………………….

๘.  การพระราชนิพนธ์ โคลนติดล้อ  ส่วนใหญ่ ใช้โวหารในการเขียนชนิดใด

……………………………………………………………………………………………………………………………….

๙. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้นามแฝงอย่างไรบ้าง

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

๑๐. “โคลนติดล้อ” ให้ข้อคิดแก่นักเรียนอย่างใดบ้าง

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 

0nk88dzsf0p

 

เรื่อง กำเนิดหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย

คำสั่ง   ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า  เรื่องกำเนิดหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยบอกบอกแหล่งอ้างอิง  แล้วบันทึกสรุป
giphy

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Posted in โคลนติดล้อ ตอน นิยมความเป็นเสมียน

โคลนติดล้อ ตอน นิยมความเป็นเสมียน

โคลนติดล้อ ตอน นิยมความเป็นเสมียน

ดาวน์โหลด (1)

ที่มาของเรื่อง

บทความเรื่อง โคลนติดล้อ เป็นหนังสือรวมบทความแสดงความคิด พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเอยู่หัว โดยใช้นามแฝงว่า “อัศวพาหุ” พระราชนิพนธ์เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ เพื่อลงพิมพ์ใน “หนังสือพิมพ์ไทย” และต่อมา “หนังสือพิมพ์สยามออบเซอร์เวอร์” ไดนำมาพิมพ์ลงไว้อีกครั้งหนึ่ง แบ่งเป็น ๑๒ บทดังนี้

๑. การเอาอย่างโดยไม่ตริตรอง     ๒. การทำตนให้ต่ำต้อย
๓. การบูชาหนังสือเกินเหตุ         ๔. ความนิยมเป็นเสมียน
๕. ความเห็นผิด                     ๖. ถือเกียรติไม่มีมูล
๗. ความจนไม่จริง                   ๘. แต่งงานชั่วคราว
๙. ความไม่รับผิดชอบบิดามารดา   ๑๐. การค้าหญิงสาว
๑๑. ความหยุมหยิม                 ๑๒. หลักฐานไม่มั่นคง

ประวัติผู้แต่ง

u4-n80-p1

เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ    ศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ ทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และศึกษาวิชาการทหารบก ที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิสต์ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗

เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้ทรงตราพระราชบัญญัติ  ประถมศึกษา ให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ทรงตั้งกระทรวงการทหารเรือ กองเสือป่า และกองลูกเสือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรมศิลปากร โรงไฟฟ้าหลวงสามเสน คลังออมสิน กรมสถิติพยากรณ์ กรมสรรพากร กรมตรวจเงินแผ่นดิน กรมมหาวิทยาลัย กรมรถไฟหลวง และเปิดเดิน รถไฟไปเชื่อมกับมลายู ตั้งสถานเสาวภาและกรมร่างกฎหมาย ทรงเปลี่ยนการใช้ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นพุทธศักราช (พ.ศ.) ทรงปลูกฝัง  ความรักชาติให้เกิดขึ้นใน  หมู่ประชาชาวไทย  ทรงเป็นศิลปิน  และส่งเสริมงานประพันธ์เป็นอย่างมาก ทรงเป็นผู้นำในการประพันธ์วรรณคดีไทย ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ทรงเขียนหนังสือทางด้านประวัติศาสตร์ และด้านการทหารไว้เป็นจำนวนมาก ประมาณถึง ๒๐๐ เรื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้นามปากกามากมาย เช่น  ศรีอยุธยา  พระขรรค์เพชร อัศวพาหุ นายแก้วนายขวัญ  พันแหลม  รามกิตติ   สุครีพ  พาลี   ศรีธนญชัย  รามสูร  วชิราวุธ สุริยงส่องฟ้า  อัญชัญ  น้อยลา  พันตา  หนานเเก้วเมืองบูน  นักเรียนคนหนึ่ง  นักเรียนเก่า  พรานบุญ  เสือเหลือง  เลขานุการ  จุลสมิต  มหาสมิต  วรสมิต  วิริยะสมิต โสตสมิธ  วรรณสมิต  วิภาสมิต  บรรณาธิการ  ดุสิตสมิต  อัศวพาหุ  พระขรรค์เพชร  ไก่เขียว  รามจิตติ  พระขรรค์เพชร  น้อยลา  สุครีพ

พระองค์ได้รับ ถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ทรงเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของไทย

ลักษณะคำประพันธ์

เป็นบทความร้อยแก้ว แสดงคามคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมของคนไทยที่นิยมอาชีพเป็นเสมียน

เนื้อเรื่อง ตอนที่ ๔ ความนิยมเป็นเสมียน

เสมียนคือผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับหนังสือ ผู้มีการศึกษานั้นนิยมเป็นเสมียน คือนิยมเข้ารับราชการผู้ที่เป็นเสมียนจึงไม่สนใจกลับไปทำการเกษตรในภูมิลำเนาของตนซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่าผู้ที่เป็นเสมียนจึงนิยมใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ บุคคลเหล่านี้เห็นว่าการทำงานอย่างอื่นไม่สมเกียรติยศของตนเองเพราะคนที่ได้รับการศึกษาไม่ควรเสียเวลาไปทำงานที่คนไม่รู้หนังสือก็ทำได้คนจำพวกนี้จึงยอมทนใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งที่เงินเดือนไม่มากแต่ก็จับจ่ายใช้ทรัพย์เพื่อการต่าง ๆ เช่น นุ่งผ้าม่วงสี ดูหนัง กินข้าว ตามร้านอาหารถ้าคนเรายังมีค่านิยมเห็นว่าการเป็นเสมียนมีศักดิ์ศรีสูงกว่าการเป็นชาวนา ชาวสวน หรือพ่อค้า คนก็มักจะใฝ่ทะเยอทะยานอยากเป็นเสมียนเมื่อกระทรวงทบวงการคัดเลือกเสมียนที่มีมากเกินความจำเป็นออกบุคคลเหล่านี้จะไม่สามารถไปทำงานอื่นได้ เพราะเคยเป็นเสมียนมานานผู้ที่เป็นเสมียนไม่อาจไปเป็นชาวนาได้ ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เห็นว่าไม่สมเกียรติของตน ไม่อาจไปอยู่ตามบ้านนอกได้ ดังนั้นจึงคงอยู่ในเมืองเพื่อหาตำแหน่งเสมียนต่อไป อายุมากขึ้นโอกาสยิ่งน้อยลง

ในตอนท้ายของบทความจบด้วยคำถามกระตุ้นให้คิดว่า สมควรหรือไม่ที่จะเปลี่ยนค่านิยมในการเป็นเสมียนแล้วหันไปทำงานอื่น ๆ ที่ทำประโยชน์ได้ดีกว่าการเป็นเสมียน

คุณค่าของเรื่อง

๑. เป็นตัวอย่างของบทความที่ดี
๒. เสนอข้อคิดเกี่ยวกับปัญหาของบ้านเมืองในเรื่องค่านิยมที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศให้เจริญ
๓. ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์ว่าอาชีพอื่นก็สามารถทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้

 

1296136699

สรุปประเด็นโคลนติดล้อ ๑๒ ตอน


ตอนที่ ๑ การเอาอย่างโดยไม่ตริตรอง
กล่าวถึงการทำตัวเอาอย่างตามชาวตะวันตกโดยไม่ตริตรอง ทำให้ชาวต่างชาติไม่นับถือเรา คนไทยจึงสมควรที่จะพยายามยกตัวเรา คิดทำอะไรด้วยตนเอง และสนับสนุนผู้มีความคิด
ตอนที่ ๒ การทำตนให้ต่ำต้อย
กล่าวถึงคนไทยไม่เชื่อถือคนไทยด้วยกัน แต่เชื่อว่าการทำอะไรให้ดีต้องอาศัยความช่วยเหลือจากชาวต่างชาติ
ตอนที่ ๓ การบูชาหนังสือเกินเหตุ
หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องแสดงความคิด สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้เขียนเขียนลงหนังสือพิมพ์นั้นดังนั้น ไม่ควรเชื่อทั้งหมด เพราะบางครั้งอาจมีความคิดเห็นคัดค้าน เคียดแค้น หรือใส่ร้าย ลงเรื่องไร้สาระ
ตอนที่ ๔ ความนิยมเป็นเสมียน
ผู้ที่มีการศึกษานิยมเข้ารับราชการใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ไม่สนใจกลับไปทำงานทำการเกษตรในภูมิลำเนาเดิม เข้าใจว่าการรับราชการ จะทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองได้มากกว่าชาวไร่ชาวนา พ่อค้า และงานอื่น ๆ
ตอนที่ ๕ ความเห็นผิด
คนไทยเห็นว่า การประพฤติตนตามแบบฝรั่งทั้งที่ไม่ใช่สิ่งดีก็เห็นว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ความเห็นผิดดังกล่าว เช่น การรับแขกด้วยวิสกี้และโซดา การเป็นหมอเป็นความแล้วถึงฝ่าฝืนกฎหมาย กฎหมายก็จะคุ้มครองตน อิสระ คือการทำสิ่งต่าง ๆ ได้ตามอำเภอใจ ไม่ว่าจะผิดหรือให้โทษเพียงใด
ตอนที่ ๖ ถือเกียรติไม่มีมูล
มีคนถือสิทธิ์ความเสมอภาค เห็นว่าคนย่อมเสมอกันโดยกำเนิด การจะแสดงความเคารพใครเป็นเครื่องแสดงความต่ำต้อย
ตอนที่ ๗ ความจนไม่จริง
คนไทยนั้นจนไม่จริง ในเมืองเรานังไม่เคยปรากฏว่ามีคนอดตายในเมืองเรายังมีการเล่นการพนัน แม้ชาวบ้านนอกก็ยังมีอาหารสมบูรณ์ การจนนั้นก็เพราะสุรุ่ยสุร่ายและเล่นการพนัน
ตอนที่ ๘ แต่งงานชั่วคราว
การที่แต่งงานที่พ่อแม่ขายลูกสาวให้แก่ชายโดยไม่ได้ถามความเห็นของหญิง เมื่ออยู่กันไปก็เหมือนตกนรกทั้งเป็น ครั้นผู้ชายรู้สึกเบื่อหน่ายก็อาจขับไล่หญิงนั้นไปไม่เลี้ยงดู ถ้ามีลูกก็ยิ่งลำบาก
ตอนที่ ๙ ความไม่รับผิดชอบของบิดามารดา
การแต่งงานชั่วคราวส่งผลให้บิดามารดาไม่รับผิดชอบ ไม่ทำหน้าที่พ่อแม่ที่ดี ซึ่งส่งผลให้ลูกมีปัญหา มีความประพฤติไม่ดี
ตอนที่ ๑๐ การค้าหญิงสาว
การค้าหญิงสาวเป็นสิ่งที่น่าละอายยิ่ง ผู้ชายชอบมีภรรยาลับซึ่งได้มาด้วยการตกลงให้เงินแก่พ่อแม่ของหญิง
ในระหว่างที่รักกันอยู่หญิงนั้นก็จะได้รับการเลี้ยงดูจากสามี แต่ถ้าสามีหมดรักก็ถูกทอดทิ้ง บ้างก็กลับไปอยู่กับพ่อแม่ บ้างก็ขายตัว การที่เป็นเช่นนี้นอกจากเป็นเพราะผู้ชายแล้ว แม่สื่อและพ่อแม่ที่ขายหญิงสาวก็ทำให้มีการค้าหญิงสาว
ตอนที่ ๑๑ ความหยุมหยิม
บุคคลที่มีนิสัยหยุมหยิม ถ้าไม่มีส่วนอยู่ด้วยก็จะไม่เห็นด้วยและจะขัดขวาง ไม่ให้กิจการดำเนินไป แม้จะเป็นกิจการสำหรับชาติ
ตอนที่ ๑๒ หลักฐานไม่มั่นคง
ผู้ที่บกพร่องในกิจการส่วนตัวเป็นผู้ที่มีหลักฐานไม่มั่นคง ตัวอย่าง ข้าราชการที่ชอบสมาคมกับนักเลง ชอบเล่นการพนัน หลักฐานไม่มั่นคงในบุคคล เป็นเหตุให้ชาวต่างชาติไม่ไว้ใจ ไม่เชื่อถือ ดังนั้น เราคนไทยต้องประพฤติตนเป็นคนซื่อตรงและสุจริต

1296136699

Posted in แบบฝึกทักษะคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

แบบฝึกทักษะคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

ชุดที่ ๑

คำสั่ง  ให้นักเรียนหาสมุนไพรไทย ๑ ชนิด  บรรยายสรรพคุณในการรักษาโรค พร้อมภาพประกอบ

สมุนไพรไทย

ชื่อ…………………………………………………………………

สรรพคุณ…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 

ภาพประกอบ

 

 

 

……………………………………………………………………….

 

ชุดที่ ๒

คำชี้แจง : ให้นักเรียนเติมคำที่กำหนดให้ลงในช่องว่างให้ถูกต้องสมบูรณ์

แรงกรรม   มือม้วย   มรณา    วิสัย   อภิปราย    กุศุล    ตนรู้  พระบาฬี      โรคชัด   กระหน่ำ  ขัดขวาง     เข้าระวาง     หินชาติ    อบาย    แพร่งพราย   ครูสอน  บุญคุณ

บางทีรู้มิทัน   ด้วยโรคนั้นใช่………

ตน บ รู้ทิฏฐิใจ   ถือว่ารู้ขืนกระทำ

จบเรื่องที่……… โรคนั้นสู้ว่า……

ไม่สิ้นสงสัยทำ  สุด……น่าเสียดาย

บางทีก็มีชัย  แต่ยาให้โรคนั้นหาย

ท่านกล่าว……..  ว่าชอบโรคนั้นเป็นดี

ผู้ใดใครทำชอบ  ตามระบอบ……….

……..ผลจะมี  อเนกนับเบื้องน่าไป

เรียนรู้ให้แจ้งกระจัด  เห็น……..อย่าสงสัย

เร่งยา……..ไป  อย่าถือใจว่าลองยา

จะหนีๆแต่ไกล  ต่อจวนใกล้จะ…………

จึ่งหนีแพทย์นั้นหนา  ว่ามิรู้ในท่าทาง

อำไว้จนแก่กล้า  แพทย์อื่นมาก็……

ต่อโรค…………. ตรีโทษแล้วจึ่งออกตัว

………แพทย์เหล่านี้  เวรามีมิได้กลัว

ทำกรรมนำใส่ตัว  จะตกไปใน………

เรียนรู้คัมภีร์ไสย  สุขุมไวอย่า……………….

ควรกล่าวจึ่งขยาย  อย่ายื่นแก้วแก่วานร

ไม่รักจะทำยับ  พาตำหรับเที่ยวขจร

เสียแรงเป็น…….. ทั้ง…………..ก็เสื่อมสูญ

 

200fqc2cm1f.gif

Posted in วิเคราะห์คุณค่าคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

วิเคราะห์คุณค่าคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

คุณค่าด้านเนื้อหา

รูปแบบการแต่งคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์ เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้จากตำราอื่นๆ เกี่ยวกับแพทยศาสตร์ ซึ่งผู้แต่งเลือกใช้คำประพันธ์ประเภท กาพย์ยานี ๑๑ เริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู และจรรยาบรรณของแพทย์ กับข้อควรปฏิบัติ ส่วนเนื้อหาที่ใช้ศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ว่าด้วยเรื่องลักษณะทับ ๘ ประการ ผู้แต่งใช้คำประพันธ์ประเภทร่ายให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคของแพทย์แผนไทย

สาระสำคัญของเรื่อง คือ ความสำคัญของแพทย์และคุณสมบัติที่แพทย์พึงมี ซึ่งจะช่วยรักษาโรคได้ผลมากกว่ารู้เรื่องนาอย่างเดียว

โครงเรื่อง มีการลำดับความเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู เป็นการไหว้พระรัตนตรัย ไหว้เทพเจ้าของพราหมณ์ ไหว้หมอชีวกโกมารภัจ และไหว้ครูแพทย์โดยทั่วไป ต่อด้วยความสำคัญของแพทย์ จรรยาบรรณแพทย์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่แพทย์พึงมี และตอนท้ายกล่าวถึงทับ ๘ ประการ คือ อาการของโรคชนิดหนึ่งที่แทรกซ้อนกับโรคอื่น

กลวิธีการแต่ง เนื้อหาจัดเป็นตำราเฉพาะด้าน เน้นการอธิบายเป็นส่วนใหญ่ จึงใช้อุปมาโวหารเปรียบเทียบ เช่น

จะกล่าวถึงคัมภีร์ฉัน   ทศาสตร์บรรพ์ที่ครูสอน

เสมอดวงทินกร                    แลดวงจันทร์กระจ่างตา 

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

๑.การสรรคำ  

๑.๑ การใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมแก่เนื้อเรื่อง ทำให้เข้าใจความหมายตรงไปตรงมา

เช่น

บางหมอก็กล่าวคำ       มุสาซ้ำกระหน่ำความ

ยกตนว่าตนงาม                   ประเสริฐยิ่งในการรักษา

บางหมอก็เกียจกัน                ที่พวกอันแพทย์รักษา

บ้างกล่าวเป็นมารยา            เขาเจ็บน้อยว่ามากครัน

บ้างกล่าวอุบายให้                แก่คนไข้นั้นหลายพัน

หวังลาภจะเกิดพลัน              ด้วยเชื่อถ้อยอาตมา

๑.๒ การใช้สำนวนไทย ช่วยอธิบายให้ชัดเจนมากขึ้น เช่น

เรียนรู้คัมภีร์ไสย         สุขุมไว้อย่าแพร่งพราย

ควรกล่าวจึ่งขยาย                อย่ายื่นแก้วให้วานร

๒. การใช้โวหาร

ทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายและเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น

อนึ่งจะกล่าวสอน        กายนครมีมากหลาย

ประเทียบเปรียบในกาย         ทุกหญิงชายในโลกา

ดวงจิตคือกระษัตริย์              ผ่านสมบัติอันโอฬาร์

ข้าศึกคือโรคา                      เกิดเข่นฆ่าในกายเรา

เปรียบแพทย์คือทหาร           อันชำนานรู้ลำเนา

ข้าศึกมาอย่างใจเบา              ห้อมล้อมรอบทุกทิศา

คุณค่าด้านสังคม

๑. สะท้อนให้เห็นความเชื่อของสังคมไทย  ฉันทศาสตร์มีความหมายว่า ตำรา (ศาสตร์)    ที่แต่งเป็นสูตร (ฉันท์) ตามอย่างตำราการแพทย์ในคัมภีร์อาถรรพ์เวท  ตำราอาถรรพ์เวท เป็นพระเวทหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ จึงมีเรื่องเกี่ยวกับไสยศาสตร์ด้วย  จึงมักพบคำว่า “คัมภีร์ไสย์”ปรากฏอยู่ในคำประพันธ์ ดังตัวอย่าง

เรียนรู้ให้ชัดเจน                     จบจังหวัดคัมภีร์ไสย์

ตั้งต้นปฐมใน                               ฉันทศาสตร์ดังพรรณนา

แต่ในคัมภีร์ฉันศาสตร์ มีการประสานความเชื่อความคิดต่างๆ ทางสังคมและทางพระพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน เนื้อหาจึงปรากฏคำบาลีแสดงให้เห็นตลอด ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา เช่น   มิจฉา (ความผิด)  พิริยะ (ความเพียร) วิจิกิจจา (ความลังเล) อุทธัจ(ความฟุ้งซ่าน) วิหิงษา (เบียดเบียน) อโนตัปปัง (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป) อธิกรณ์ (โทษ)

๒. สะท้อนให้เห็นคุณค่าเรื่องแพทย์แผนไทย  ถ้าพิจารณาในส่วนที่กล่าวถึงทับ ๘ ประการ จะเป็นได้ว่าแพทย์แผนไทยเป็นวิธีการรักษาโรคอีกวิธีหนึ่ง เป็นแพทย์ทางเลือกที่มีความจำเป็นในการรักษาโรค  เราจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ล้าสมัยไม่ได้ เพราะเวชกรรมแผนโบราณเป็นที่ยอมรับเชื่อถือมาช้านาน  ก่อนที่จะรับเอาวิทยาการแพทย์แผนใหม่มาจากชาติตะวันตกมาใช้   ซึ่งปัจจุบันการค้นคว้าวิจัยทางแพทย์ จะกลับมาให้ความสนใจในการรักษาด้วยยาสมุนไพรตามแบบโบราณ โดยถือว่าเป็นทางเลือกทางหนึ่งในการรักษาโรคในปัจจุบัน

๓.  ให้ข้อคิดสำหรับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  สามารถนำข้อคิดที่ได้จากการศึกษาคัมภีร์ฉันทศาสตร์ไปใช้ได้ทุกสาขาอาชีพ เพราะไม่ว่าจะเป็นบุคคลในอาชีพใด  ถ้าไม่มีความประมาท  ความอวดดี  ความริษยา  ความโลภ ความเห็นแก่ตัว  ความหลงตัวเอง และการมีศีลธรรมประจำใจ ย่อมได้รับการยกย่องจากบุคคลต่างๆ

โดยเฉพาะในวิชาชีพแพทย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของชีวิตคน ต้องเป็นผู้ที่รอบรู้จริง ตั้งแต่การวินิจฉัยสมติฐานโรค การใช้ยา และความรับผิดชอบต่อผู้ป่วย ให้ปฏิบัติด้วยความรอบคอบไม่ประมาท โดยมีคำสอนในทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการชี้นำ

๔. ให้ความรู้เรื่องศัพท์ทางการแพทย์แผนโบราณ   เช่น คำว่า  “ธาตุพิการ”ธาตุทั้งสี่ (ดิน น้ำ ลม และไฟ)  ในร่างกายไม่ปกติ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นตามกองธาตุเหล่านั้น คำว่า “กำเดา” หมายถึงอาการไข้อย่างหนึ่งเกิดจากหวัดเรียกว่า “ไข้กำเดา”  อาการของโรคจะมีเลือดไหลออกทางจมูก เรียกว่าเลือดกำเดา คำว่า  “ปวดมวน”  หมายถึงการปั่นป่วนในท้อง

จะเห็นได้ว่า  ข้อบกพร่องของแพทย์มีทั้งแง่ของความประมาท  ความอวดดี  ความริษยา  ความโลภ  ความเห็นแก่ตัว  ความหลงตัวเอง  ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากบรรดาแพทย์ที่เล็งเห็นข้อบกพร่องต่างๆ เหล่านี้ย่อมช่วยให้คนไทยหายไข้ได้เร็วขึ้น ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย  และที่สำคัญคือคนจนได้รับความสนใจจากแพทย์ ส่วนของแพทย์ด้วยกันนั้น  มีการเตือนสติไม่ให้แพทย์สูงอายุหลงตัวเองจนลืมไปว่าคนหนุ่มก็มีความสามารถเหมือนกัน

สำหรับวรรณคดีเพื่อประชาชนนั้น มีมาตั้งแต่โบราณ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์โดยองค์รวม จนเป็นทั้งหนังสือที่ให้ความรู้แห่งภูมิปัญญาที่มีคุณค่า

patawe_herb

Posted in คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะ

คัมภีร์ฉนทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

1110061212443058_12013113133048.jpg

ความเป็นมา

ในปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี เจริญพระชนมายุ ๗๒ พรรษา รัฐบาลจึงได้จัดงานเฉลิมพระเกียรติเพื่อถวายเป็นราชสักการะ และได้จัดพิมพ์หนังสือที่เป็นที่ระลึกในนามของรัฐบาล แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ เป็นหนึ่งในหนังสือเหล่านั้น ซึ่งแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติฉบับเฉลิมพระเกียรตินี้ ได้นำต้นฉบับแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ของพระยาพิศณุประสาทเวช เล่มที่ ๒ พิมพ์ครั้งที่ ๒ ร.ศ.๑๒๘ และเล่มที่ ๒ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ร.ศ.๑๒๖ โดยจัดพิมพ์ใหม่  โดยจัดทำอธิบายส่วนๆต่างเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เหมาะสมแก่ยุคสมัยและเผยแพร่ความรู้แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง รวบรวมและพิมพ์โดยพระยาพิศณุประสาทเวช โดยได้รับพระอนุญาตจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประกอบด้วยองค์ความรู้ด้านแพทย์ภูมิปัญญาตะวันออกและภูมิปัญญาไทยด้านเวชกรรมและเภสัชกรรม อีกทั้งยังแฝงไปด้วยปรัชญาที่ทรงคุณค่า รวมถึงวิธีคิด ความเชื่อ พิธีกรรมและวิธีรักษาแบบโบราณ

          ประวัติผู้แต่ง

l33-283b.jpg

พระยาพิศณุประสาทเวช (คง ถาวรเวช) เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๖ หรือที่เรียกกันว่า “หมอคง” เคยเป็นศิษย์ของพระยาประเสริฐศาสตร์ธำรง (หนู วรกิจพิศาล) หมอคงเป็นหมอที่มีชื่อเสียงและเป็นหมอประจำโรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่แรกก่อตั้ง เมื่อกิจการโรงพยาบาลศิริราชได้รับความนิยามมากขึ้น กรมพยาบาลจึงจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นมาตรงหน้าวังบูรพาภิรมย์ เป็นโรงพยาบาลสามัญ เรียกว่า “โรงพยาบาลบูรพา” หมอคงจึงย้ายไปประจำอยู่ที่นั่น ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนประสารเวชสิทธ์” ทำหน้าที่เป็นหมอหลวง หมอประจำโรงพยาบาล และเป็นหมอเชลยศักดิ์[1] รักษาคนไข้ทั่วไป และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาพิศณุประสาทเวช”

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ เกิดโรคระบาดตามหัวเมืองลพบุรีและหัวเมืองนครราชสีมา พระยาพิศณุประสาทเวชได้รับความไว้วางใจจากรัชกาลที่ ๕ ให้ไปรักษาและระงับโรคระบาดเหล่านั้น ทำให้พระยาพิศณุประสาทเวชคิดรวบรวมคัมภีร์แพทย์พื้นบ้านมารวบรวมให้เป็นฉบับที่สมบูรณ์ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพให้รวบรวมเป็นหนังสือ “คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์”

ลักษณะคำประพันธ์

ตอนเปิดเรื่องใช้กาพย์ยานี ๑๑ ตอนที่อธิบายลักษณะของทับ ๘ ประการใช้คำประพันธ์แบบร่าย

เนื้อเรื่องย่อ

แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ตอนคัมภีร์ฉันทศาสตร์  เปิดเรื่องด้วยบทไหว้ครู ซึ่งมีการไหว้พระรัตนตรัย ไหว้เทพเจ้าของพราหมณ์ ได้แก่ พระอิศวร พระพรหม ไหว้หมอชีวกโกมารภัจและไหว้ครูแพทย์โดยทั่วไป จากนั้นกล่าวถึงคัมภีร์ฉันทศาสตร์ที่ครูเคยสั่งสอน เปรียบเสมือนแสงสว่างแก่สรรพสัตว์ทั้งปวง รวมถึงสิ่งที่แพทย์ควรมีและสิ่งที่ไม่ควรกระทำ โดยทั่วไปจะมีความประมาท ความอวดดี  ความริษยา  ความโลภ  ความเห็นแก่ตัว  ความหลงตัว  และความไม่เสมอภาคในการรักษาคนรวยและคนจน

อีกจะกล่าวเปรียบเทียบร่างกายเหมือนกับบ้านเมือง โดยให้ความสำคัญกับดวงจิต ด้วยการเปรียบดวงจิตเป็นกษัตริย์ และเปรียบโรคภัยเป็นข้าศึก เปรียบแพทย์เป็นทหารที่มีความชำนาญ คอยดูแลปกป้องรักษาไม่ให้ร่างกายมีโรคภัย อีกทั้งดวงใจก็พยายามอย่าโกรธเพื่อไม่ให้โรคภัยคุกคามเร็วเกินไป ความรู้ความเชี่ยวชาญในการรักษาบำบัดรักษาโรค มีความสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อใดเกิดอาการเจ็บป่วย แพทย์ต้องรักษาโรคให้ทันท่วงที และรักษาให้ถูกโรค เนื่องจากอาการเจ็บป่วยอาจลุกลามจนรักษาไม่หายและควรรอบรู้ในการรักษาทั้งคัมภีร์พุทธไสย์อย่างรอบด้าน เพื่อให้สามารถวินิจฉัยและถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้

กล่าวถึงอาการของโรคทับ ๘ ประการ ทับ คือ อาการของโรคอย่างหนึ่งซึ่งเกิดแทรกซ้อนโรคหนึ่งที่เป็นอยู่ก่อน ทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นในคัมภีร์ฉันทศาสตร์กล่าวถึงทับ ๘ ประการ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดกับเด็กมีชื่อต่าง ๆ โดยระบุอาการ วิธีการสังเกตอาการและแนวทางการรักษาดังนี้

๑. ทับสองโทษ

อาการ : เด็กท้องขึ้น  มือเท้าเย็น อุจจาระเหม็นผิดปกติ  อาเจียน ลงท้อง กระหายน้ำ ปวดหัวตัวร้อน

การรักษา :   เช้า ยาตรีหอม  เที่ยงวัน ยาหอมผักหนอก  เย็น ยาประสะนิลน้อย

๒. ทับสำรอก

อาการทับ : มีอาการสี่อย่าง อาเจียนออกมาเป็นสีเหลืองบ้าง สีเขียวบ้าง เป็นเสมหะบ้าง เป็นเม็ดมะเขือบ้าง มีเม็ดขึ้นในคอ ทำให้ไอ นอนผวา ไม่กินนม ไม่กินข้าว เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว แลบางคราว ร่างกายเย็นและร้อนเป็น ส่วน ๆ ตามักช้อนขึ้นบน

การรักษา : ในหนังสือไม่ปรากฏ

๓. ทับละออง

อาการ : ทารกมีละอองซางเกิดขึ้นในคอ ไอกำเริบเป็นหมู่ ๆ (ไอถี่ ๆ เป็นชุด ๆ) ท้องเดิน อุจจาระเป็นมูก มีกลิ่นคาวและเปรี้ยวซึมเซา เชื่อมมัว ตัวร้อนจัดดังเปลวไฟ

การรักษา : ในหนังสือไม่ปรากฏ

๔. ทับกำเดา

อาการ : มีไข้ ไอ ปวดศีรษะ ตัวร้อนดังเปลวไฟ ถอนใจใหญ่ (หายใจแรง) หายใจสั้น ปากคอแห้ง หลับ ๆ หวาดผวาเกิดเม็ดในลำคอ ในอก ไม่กินข้าว ไม่กินนม ท้องขึ้นแข็ง

การรักษา : ให้ยาเย็นและสุขุม

๕. ทับกุมโทษ

อาการ : อุจจาระเป็นมูกเลือด มีสีดำหรือสีแดงสด ปวดเบ่งมากตัวร้อนมากตลอดทั้งตัว เชื่อมมัวทอดไม่สมปฤดี หายใจขัด กระหายน้ำ

การรักษา : เช้า ให้ยาน้ำสมอไทย , ยามเที่ยง ให้ยาหอมผักหนอก

๖. ทับเชื่อมมัว

อาการ : ทารกเป็นไข้กำเดา ซึมเซาเชื่อมมัว ปวดหัว ตัวร้อนจัด ท้องขึ้น หอบไอแห้ง ๆ

ทับมีอาการอุจจาระเป็นมูกเลือด ลงมิได้เป็นเวลา ปวดเบ่งเป็นกำลัง กระหายน้ำ

การรักษา : ในหนังสือไม่ปรากฏ

๗. ทับซาง

อาการ : เป็นไข้ ซางกินปอด ตับอยู่ภายใน ถ่ายออกมาคล้ายน้ำส่าเหล้าบ้าง คล้ายน้ำไข่ เน่าบ้าง มีกลิ่นเหม็นคาว สุดท้ายถ่ายเป็นมูกเลือด ปวดเบ่ง หิว กระหายน้ำ อาจทำให้มีอาการตับทรุด อาการหนักขึ้น ถ่ายออกมาเป็นเลือดเสลดเน่า ตัวร้อน ท้องขึ้น มือเท้าเย็น หายใจขัด ยากจะรักษา

การรักษา : ในหนังสือไม่ปรากฏ

๘. ทับช้ำใน

อาการ : ขัดยอกในกายเหตุหกล้ม อกและสีข้างกระแทก (ตับได้รับการกระทบกระแทก) ชอกช้ำภายใน (ตับ) อยู่นานมา จับไข้ ตัวร้อนเป็นเวลา หน้าตาไม่มีสี( ซีด ) ให้มีอาการตับทรุด อุจจาระเป็นส่าเหล้าแลไข่เน่าแล้วเป็นมูกเลือด ปวดเบ่ง ตัวร้อนหายใจสะอื้นขัด มือเท้าเดี๋ยวเย็นเดี๋ยวร้อน มีโทษถึงตาย

การรักษา : ในหนังสือไม่ปรากฏ

…………………………..

[1] หมอเชลยศักดิ์ หมายถึง หมอที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน

เอกสารอ้างอิง

พรทิพย์   แฟงสุด . (๒๕๕๔). สื่อเสริมสาระการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑. สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ : กรุงเทพฯ.

ภาสกร  เกิดอ่อน และคณะ. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม ม.๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐ , อักษรเจริญทัศน์ : กรุงเทพฯ.

Posted in แบบทดสอบ ลิลิตตะเลงพ่าย

แบบทดสอบเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย

แบบทดสอบ เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย
FlowerDividers_BangornT_OrnT-098

คำชี้แจง   ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย × ทับคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

๑.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเนื้อเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย

ก.       กษัตริย์พม่าทรงทราบข่าวการสวรรคตของพระมหาธรรมราชา

ข.       พระเจ้านันทบุเรงนำทัพหลวงมาพร้อมด้วยพระมหาอุปราช

ค.       พระมหาอุปราชยกกองทัพห้าแสนเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์

ง.        ฝ่ายไทยให้ประชาชนอพยพครอบครัวหนีไปอยู่ในป่า

 

๒.  ข้อใดสะท้อนอัจฉริยภาพด้านการสงครามของสมเด็จพระนเรศวรได้เด่นชัดที่สุด

ก.   ความรอบคอบในการจัดทัพ

ข.   ความรอบรู้ในยุทธวิธีการศึก

ค.   ความรับผิดชอบในการสงคราม

ง.   ความเข้าใจลักษณะผู้นำของแม่ทัพ

 

๓.  ข้อใดคือลางดีของสมเด็จพระนเรศวรในการรบ

ก.  ทรงฝันว่าฆ่าจระเข้ร้ายตาย

ข.   ทรงฝันว่าลมพัดฉัตรของข้าศึกหัก

ค.   เกิดลมแรงฝนตกหนักขณะเคลื่อนทัพ

ง.   เกิดพระอาทิตย์ทรงกลดขณะรบกับศัตรู

 

๔.  สมเด็จพระนเรศวรใช้วิธีการใดจึงทำให้พระมหาอุปราชายอมทำยุทธหัตถี

ก.   ใช้วาจาเยาะเย้ยท้าทาย

ข.   ใช้โวหารหว่านล้อมชักจูงใจ

ค.   ใช้การเดิมพันด้วยบ้านเมือง

ง.   ให้ทหารรุมล้อมกดดัน

 

๕.    “เจ้าปถพินทร์ผ่านทวีป ดับชนม์ชีพพิราลัย เอารสไทนฤเบศ นเรศวร์เสวยศวรรยา”“เจ้าปถพินทร์ผ่านทวีป”  หมายถึงใคร

ก.       พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง

ข.       พระมหาอุปราชา

ค.   สมเด็จพระนเรศวร

ง.    สมเด็จพระมหาธรรมราชา

 

๖.  ข้อใดคือกลศึกของพระมหาอุปราชา    

ก.   ภูธรเมินอมิตรไท้               ธำรง  สารแฮ

ครบสิบหกฉัตรทรง            เทริดเกล้า

ข.   พระทรงแสงดาบแก้ว          กับกร

โจมประจันฟันฟอน           เฟื่องน้ำ

ค.   สาดปืนไฟยะแย้ง  แผลงปืนพิษยะยุ่ง  พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง

ง.   ธระเมียรหมู่ดัสกร  มอญพม่าดาดื่น  เดินดุจคลื่นคลาฟอง

 

๗.   “ลมชื่อเวรัมภา                พัดคลุ้ม

หวนหอบหักฉัตรา           คชขาด  ลงแฮ”     เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ใด

ก.       โคกเผาข้าว

ข.       ลำกระเพิน

ค.   พนมทวน

ง.   ตระพังตรุ

 

๘.  คำว่า “ตะเลงพ่าย” มีความหมายตามรูปศัพท์ว่าอย่างไร

ก.       พม่าแพ้

ข.       มอญแพ้

ค.   มอญและพม่าแพ้

ง.   ถูกทุกข้อ

 

๙.  พระมหาอุปราชไม่อยากยกทัพมาในการศึกนี้เพราะเหตุใด

ก.   องค์บิดาชราแล้ว          ควรฤาแคล้วไกลห่าง

ข.   คะเนนึกแสยงฤทธิ์       บพิตรไปเทียบทัพหลวง

ค.   ก่อนออกรบตริตรอง    กลัวจะต้องเสียศักดิ์ศรี

ง.   โหรควรคงทำนาย        ทายพระเคราะห์ถึงฆาต

 

๑๐.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

ก.   หลังเสร็จศึกสมเด็จพระนเรศวรทรงปูนบำเหน็จความชอบแก่ทหารผู้กล้า

ข.   สมเด็จพระวันรัตขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่แม่ทัพนายกอง

ค.   สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้นำพระศพพระมหาอุปราชากลับสู่หงสาวดี

ง.   สมเด็จพระนเรศวรให้แม่ทัพนายกองที่ต้องโทษประหารชีวิตไปตีหัวเมืองเขมรเป็นการแก้ตัว

…………………………………………………………………….

totoro-top

Posted in แบบฝึกทักษะ ลิลิตตะเลงพ่าย

แบบฝึกทักษะ ลิลิตตะเลงพ่าย

แบบฝึกทักษะ เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย

1296136699

แบบฝึกเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเป็นแบบฝึกทักษะที่ตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ตัวชี้วัดที่ ท ๕.๑ ม.๔-๖/๑-๕

ชุดที่ ๑  

คำชี้แจง : ให้นักเรียนคอบคำถามต่อไปนี้

๑. ลิลิตตะเลงพ่ายแต่งขึ้นเนื่องในโอกาสใด (ความรู้ความจำ)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

๒. จุดประสงค์สำคัญในการแต่งเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายคืออะไร (ความเข้าใจ)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

๓. คำว่า “ตะเลงพ่าย” หมายความว่าอย่างไร (ความเข้าใจ)

……………………………………………………………………………………………………………………………………….

๔. เพราะเหตุใดพระเจ้าหงสาวดีจะยกทัพมาตีอยุธยา (ความเข้าใจ , วิเคราะห์)

……………………………………………………………………………………………………………………………………….

๕. เพราะเหตุใดพระมหาอุปราชาจึงไม่อยากออกทำศึกในครั้งนี้ (ความเข้าใจ , วิเคราะห์)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

๖. เพราะเหตุใดสมเด็จพระนเรศวรจึงปรารภจะไปตีเขมร (ความเข้าใจ , วิเคราะห์)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

๗. เหตุการณ์ที่บ่งบอกว่าสมเด็จพระนเรศวรจะชนะการทำยุทธหัตถีครั้งนี้คืออะไรบ้าง (วิเคราะห์)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

๘. เหตุการณ์ที่บ่งบอกถึงความพ่ายแพ้ของพระมหาอุปราชาคืออะไร (วิเคราะห์ )

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

๙. กลศึกของพระมหาอุปราชาคืออะไร (ความเข้าใจ)

……………………………………………………………………………………………………………………………………….

๑๐. เพราะเหตุใดเจ้าพระยาไชยยานุภาพจึงวิ่งฝ่าลงล้อมเข้าไปกลางกองทัพข้าศึก (วิเคราะห์ , สังเคราะห์)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

๑๑. ยุทธหัตถี หมายถึงอะไร (ความรู้ความจำ , ความเข้าใจ)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

๑๒. สมเด็จพระนเรศวรใช้กลวิธีใดจึงทำให้พระมหาอุปราชายอมทำยุทธหัตถี (วิเคราะห์)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

๑๓. พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ที่กองทัพอยุธยาใช้ในการทำยุทธหัตถีครั้งนี้มีอะไรบ้าง  แต่มีจุดประสงค์เพื่ออะไร (ความเข้าใจ , วิเคราะห์)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

๑๔. เคลื่อนพลตามเกล็ดนาค หมายถึงอะไร (ความรู้ความจำ , ความเข้าใจ)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

๑๕. เหล่าแม่ทัพที่ตามไปไม่ทันสมเด็จพระนเรศวร  ถ้าหากนักเรียนเป็นสมเด็จพระนเรศวรจะมีวิธีการพิพากษาอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดการประหารชีวิต (นำไปใช้)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

๑๖. ตัวละครใดที่นักเรียนสามารถนำมาเป็นแบบอย่างทั้งในทางที่ดีและไม่มีคือใคร เพราะเหตุใด (ประเมินค่า)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

mSQWlZdCq5b6ZLkrio4JP6iKjINxs1RG

ชุดที่ ๒

คำชี้แจง : ให้นักเรียนโยงเล้นจับคู่คำและความหมายต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

๑. อุภัย                                                ก. ของ้าว

๒. ฉม                                                  ข. การรบด้วยช้าง

๓. ครอบหล้า                                         ค. ข่าวเลื่องลือ

๔. กิดาการ                                            ง. กรุงศรีอยุธยา

๕. กุก่อง                                               จ. พร้อมกันเงี่ยหูฟัง

๖. เจียม                                                ฉ. ทั้งคู่

๗. อังกุศ                                               ช. กลิ่นหอม

๘. คชรำบาญ                                         ซ. สว่าง , รุ่งเรือง   , สุกใส

๙. ครอเคร่า                                           ฌ. ครองแผ่นดิน

๑๐. กรุงเทพทวารัติ                                 ญ. ตั้งใจคอย

๑๑. ดัดคดี                                             ฎ. พรมขนาดเล็ก

๑๒. เชวง                                              ฏ. ตัดสินความ

๑๓. ดุรงค์                                             ฐ. รบ

๑๔. ชุมโสต                                           ฑ. ม้า , ผู้ไปเร็ว

๑๕. ถ้อถอย                                           ฒ. สั่นระริก

๑๖. ตาวคู่                                             ณ. เลื่องลือ

๑๗. งาย                                               ด. เวียนขวา

๑๘. ทะท้าว                                           ต. คำพูดโต้ตอบกัน

๑๙. ทักษิณาวรรต                                   ถ. ดาบคู่

๒๐. จำบัง                                             ท. เวลาเช้า

๒๑. นฤขัตร                                           ธ. ถูกทำลาย

๒๒. ธุมาการ                                          น. ก่อไฟ

๒๓. นาศ                                              บ. จระเข้

๒๔. ระเมียร                                          ป. การขอร้อง , การวิงวอน

๒๕. สุงสุมาร                                          ผ. ฝุ่นตลบ , ควัน

๒๖. เถลิงกราน                                      ฝ. ห้วงน้ำใหญ่มาก

๒๗. อายาจน์                                         พ. ดู

๒๘. ชิงควัน                                           ฟ. ดาวฤกษ์

๒๙. ดฤษถี                                            ภ. วันตามจันทรคติ

๓๐. อรรณเวศ                                       ม. ทำก่อนถึงเวลา

1296136699

ชุดที่ ๓

คำชี้แจง : คำที่ขีดเส้นใต้หมายถึงใคร

ก. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ข. สมเด็จพระเอกาทศรถ

ค. พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง

ง. สมเด็จพระนเรศวรและพระมหาอุปราชา

จ. สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ

ฉ. พระมหาอุปราชา

……………..๑. ช้ำกมลหมองมัว  กลัวพระอาชญายอบ นอบประณตบทมูล  ทูลลาไท้ลีลาศ

……………..๒. ก็ประกาศเกณฑ์พล  บอกยุบลบ่มิหึง  ถึงเชียงใหม่ตระบัด

……………..๓. ภูบาลเอื้อนอำนวย  อวยพระพรเลิศล้น

……………..๔. ลูกตายฤใครเก็บ  ผีฝาก พระเอย

…………….๕. ไหลลบวนาดอน                     แดนตก

พระแต่เพ่งฤๅพ้น                  ที่น้ำนองสาย

…………….๖. สมเด็จพระอนุชาน้องแก้ว         ทรงสุภาภรณ์แพร้ว

เพริศพร้อมเพราตา              ยิ่งแฮ

…………….๗. ทวยหาญเพียบแผ่นดินกู  ดูมหิมาดาดาษ  สระราศพร้อมโดยขบวน

องค์อดิศวรสองกษัตริย์  คอยนฤขัตรพิชัย

…………….๘. บัด ธ เห็นขุนกรี                     หนึ่งไสร้

เถลิงฉัตรจัตุรพิรีย์                เรียงคั่ง ชูเฮย

…………….๙. ผายสิหนาทกถา                     ท่านพร้อง

ไพเราะราชสุภา-                  ษิตสื่อ  สารนา

……………..๑๐. สมครามกษัตริย์ทรง  ภพแผ่น  สองฤๅ

สองราชรอนฤทธิ์ร้า              เรื่องรู้สรรเสริญ

 

1296136699

 

ชุดที่ ๔

คำชี้แจง : ให้นักเรียนเขียนคำต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

๑. พะ-ยุ-หะ-ยุด                             เขียนได้ว่า      …………………………………..

๒. อะ-หริ-ราด                              เขียนได้ว่า      …………………………………..

๓. พระ-ตรี-โลก-กะ-นาด                 เขียนได้ว่า      …………………………………..

๔. สัด-ตรา-วุด                              เขียนได้ว่า      …………………………………..

๕. พระ-ราด-ชะ-สม-พาน                 เขียนได้ว่า      …………………………………..

๖. พด-จะ-นะ-พาก                        เขียนได้ว่า      …………………………………..

๗. อัก-คะ-ระ-อุบ-ปะ-หราด              เขียนได้ว่า      …………………………………..

๘. นะ-เรน-ทอน                            เขียนได้ว่า      …………………………………..

๙. พัด-ชะ-ริน-ทะ-ระ-ไพ-จิด             เขียนได้ว่า      …………………………………..

๑๐. หัด-สะ-ดี-รน-นะ-เรด                เขียนได้ว่า      …………………………………..

๑๑. อะ-นา-คด-ตะ-กาน                  เขียนได้ว่า      …………………………………..

๑๒. รัด-ตะ-นะ-ตรัย-เยด                 เขียนได้ว่า      …………………………………..

๑๓. กะ-มะ-ลาด ,กม-มะ-ลาด                     เขียนได้ว่า      …………………………………..

๑๔. ทะ-ระ-เมียน                          เขียนได้ว่า      …………………………………..

๑๕. อัน-นะ-เวด                            เขียนได้ว่า      …………………………………..

๑๖. สะ-เหวด-ตะ-ฉัด                      เขียนได้ว่า      …………………………………..

๑๗. ชะ-วะ-ลิด                             เขียนได้ว่า      …………………………………..

๑๘. นะ-รึ-ขัด-พิ-ชัย                       เขียนได้ว่า      …………………………………..

๑๙. ทัก-สิ-นา-วัด                           เขียนได้ว่า      …………………………………..

๒๐. นัก-คะ-เรด                            เขียนได้ว่า      …………………………………..

๒๑. นะ-รึ-บอ-ดิน                          เขียนได้ว่า      …………………………………..

๒๒. ปะ-ถะ-พิน                            เขียนได้ว่า      …………………………………..

๒๓. พะ-ยุ-หะ-บาด                        เขียนได้ว่า      …………………………………..

๒๔. วิ-ริ-ยะ-พาบ                           เขียนได้ว่า      …………………………………..

๒๕. เสา-วะ-พด                            เขียนได้ว่า      …………………………………..

๒๖. มาด-ยา-กอน                          เขียนได้ว่า      …………………………………..

๒๗. ยาด-ยุด-ทะ-นา                       เขียนได้ว่า      …………………………………..

๒๘. พัด-สะ-ตรา-สะ-ตรี                  เขียนได้ว่า      …………………………………..

๒๙. วิด-ทะ-ยา-ทอน                       เขียนได้ว่า      …………………………………..

๓๐. ประ-กาน-กน-ละ-เหี้ยน             เขียนได้ว่า      …………………………………..

1296136699

ชุดที่ ๕   

คำชี้แจง :   จงนำคำประพันธ์ทางขวามาเติมในช่องว่างให้ถูกต้อง

 

                 ร่ายสุภาพ

ก. เดียวดายเพียงลำพัง

ข. คนไกลกลับคืนมา

ค. หงอยเหงาเศร้าดวงใจ

ง. เธอคือแรงบันดาลใจ

จ. ครองรักกันมั่นไว้

ไกลจากบ้านนานแล้ว  น้องแก้วยังรอคอย   ………………………….

ไม่มีใครแลเหลียว  ………………………………………   รอความหวังลางเลือน

เตือนตัวเองอยู่เสมอ  ……………………………………   ต่อสู้ไปข้างหน้า

รอวันฟ้าสดใส   …………………………………    ชื่นชีวาเราสอง

………………………………   คงช่วยสองเราให้    ฝ่าพ้นภัยพาล

 

                โคลงสองสุภาพ

ก. รักช่วยเคลียคลอเคล้า

ข. นะเอย

ค. มีค่าและชวนชี้

ง. รักส่องให้เจิดจ้า

ความรักเป็นอย่างนี้               …………………….

ช่วยให้คลายเหงา

ในยามที่หม่นเศร้า                …………………….

เช่นน้ำทิพย์ทา

ยามใดใจอ่อนล้า                  …………………….

เป่าซ้ำทุกข์คลาย                           …………………….

1296136699.gif

ชุดที่ ๖

คำสั่ง  จงแต่งร่ายสุภาพตามหัวข้อที่กำหนด จำนวน ๑ บท ความยาวไม่ต่ำกว่า ๑๐ วรรค

ร่ายสุภาพ  หัวข้อ “แผ่นดินทอง”

………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………

 

1296136699

 

ชุดทที่ ๗

คำสั่ง   จงนำคำที่กำหนดให้เติมในช่องว่างให้สัมพันธ์กับบทประพันธ์ด้านหน้า

คำกะทัดรัด        คำอัพภาส       การเพิ่มเสียง ร ในคำ      การเล่นคำซ้ำ     บทนิราศ

๑.             “สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง  ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย          ห่างเศร้า
กี่คืนกี่วันวาย                  วางเทวษ ราแม่

ถวิลทุกขวบค่ำเช้า             หยุดได้ฉันใด”         ตอบ……………………

 

๒.         “มาเดียวเปลี่ยวอกอ้า    อายสู

สถิตเอ้องค์ดู                 ละห้อย

พิศโพ้นพฤกษ์พบู            บานเบิก  ใจนา

พลางคะนึงนุชน้อย                   แน่งเนื้อนวลสงวน” ตอบ……………………

 

๓.       “สระเทินสระทกแท้       ไทถวิล  อยู่เฮย

ฤาใคร่คลายใจจินต์                    จืดสร้อย

คำนึงนฤบดินทร์              บิตุเรศ  พระแฮ

พระเร่งลานละห้อย           เทวษไห้โหยหา   ตอบ……………………

 

๔.      “สาดปืนไฟยะแย้ง   แผลงปืนพิษยะยุ่ง  พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง

ขว้างหอกซัดคะไขว่   ไล่คะคลุกบุกบั่น   เงื้อดาบฟันฉะฉาด

ง่าง้าวฟาดฉะฉับ   …”   ตอบ……………………

 

๕.    “ศึกมอญมาชิงควัน    กันบให้ไปออก   บอกให้เต้าโดยตก

ควรจักยกไปยุทธ์    …”        ตอบ……………………                                                                                         1296136699