Posted in โคลนติดล้อ ตอน นิยมความเป็นเสมียน

โคลนติดล้อ ตอน นิยมความเป็นเสมียน

โคลนติดล้อ ตอน นิยมความเป็นเสมียน

ดาวน์โหลด (1)

ที่มาของเรื่อง

บทความเรื่อง โคลนติดล้อ เป็นหนังสือรวมบทความแสดงความคิด พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเอยู่หัว โดยใช้นามแฝงว่า “อัศวพาหุ” พระราชนิพนธ์เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ เพื่อลงพิมพ์ใน “หนังสือพิมพ์ไทย” และต่อมา “หนังสือพิมพ์สยามออบเซอร์เวอร์” ไดนำมาพิมพ์ลงไว้อีกครั้งหนึ่ง แบ่งเป็น ๑๒ บทดังนี้

๑. การเอาอย่างโดยไม่ตริตรอง     ๒. การทำตนให้ต่ำต้อย
๓. การบูชาหนังสือเกินเหตุ         ๔. ความนิยมเป็นเสมียน
๕. ความเห็นผิด                     ๖. ถือเกียรติไม่มีมูล
๗. ความจนไม่จริง                   ๘. แต่งงานชั่วคราว
๙. ความไม่รับผิดชอบบิดามารดา   ๑๐. การค้าหญิงสาว
๑๑. ความหยุมหยิม                 ๑๒. หลักฐานไม่มั่นคง

ประวัติผู้แต่ง

u4-n80-p1

เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ    ศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ ทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และศึกษาวิชาการทหารบก ที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิสต์ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗

เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้ทรงตราพระราชบัญญัติ  ประถมศึกษา ให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ทรงตั้งกระทรวงการทหารเรือ กองเสือป่า และกองลูกเสือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรมศิลปากร โรงไฟฟ้าหลวงสามเสน คลังออมสิน กรมสถิติพยากรณ์ กรมสรรพากร กรมตรวจเงินแผ่นดิน กรมมหาวิทยาลัย กรมรถไฟหลวง และเปิดเดิน รถไฟไปเชื่อมกับมลายู ตั้งสถานเสาวภาและกรมร่างกฎหมาย ทรงเปลี่ยนการใช้ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นพุทธศักราช (พ.ศ.) ทรงปลูกฝัง  ความรักชาติให้เกิดขึ้นใน  หมู่ประชาชาวไทย  ทรงเป็นศิลปิน  และส่งเสริมงานประพันธ์เป็นอย่างมาก ทรงเป็นผู้นำในการประพันธ์วรรณคดีไทย ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ทรงเขียนหนังสือทางด้านประวัติศาสตร์ และด้านการทหารไว้เป็นจำนวนมาก ประมาณถึง ๒๐๐ เรื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้นามปากกามากมาย เช่น  ศรีอยุธยา  พระขรรค์เพชร อัศวพาหุ นายแก้วนายขวัญ  พันแหลม  รามกิตติ   สุครีพ  พาลี   ศรีธนญชัย  รามสูร  วชิราวุธ สุริยงส่องฟ้า  อัญชัญ  น้อยลา  พันตา  หนานเเก้วเมืองบูน  นักเรียนคนหนึ่ง  นักเรียนเก่า  พรานบุญ  เสือเหลือง  เลขานุการ  จุลสมิต  มหาสมิต  วรสมิต  วิริยะสมิต โสตสมิธ  วรรณสมิต  วิภาสมิต  บรรณาธิการ  ดุสิตสมิต  อัศวพาหุ  พระขรรค์เพชร  ไก่เขียว  รามจิตติ  พระขรรค์เพชร  น้อยลา  สุครีพ

พระองค์ได้รับ ถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ทรงเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของไทย

ลักษณะคำประพันธ์

เป็นบทความร้อยแก้ว แสดงคามคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมของคนไทยที่นิยมอาชีพเป็นเสมียน

เนื้อเรื่อง ตอนที่ ๔ ความนิยมเป็นเสมียน

เสมียนคือผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับหนังสือ ผู้มีการศึกษานั้นนิยมเป็นเสมียน คือนิยมเข้ารับราชการผู้ที่เป็นเสมียนจึงไม่สนใจกลับไปทำการเกษตรในภูมิลำเนาของตนซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่าผู้ที่เป็นเสมียนจึงนิยมใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ บุคคลเหล่านี้เห็นว่าการทำงานอย่างอื่นไม่สมเกียรติยศของตนเองเพราะคนที่ได้รับการศึกษาไม่ควรเสียเวลาไปทำงานที่คนไม่รู้หนังสือก็ทำได้คนจำพวกนี้จึงยอมทนใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งที่เงินเดือนไม่มากแต่ก็จับจ่ายใช้ทรัพย์เพื่อการต่าง ๆ เช่น นุ่งผ้าม่วงสี ดูหนัง กินข้าว ตามร้านอาหารถ้าคนเรายังมีค่านิยมเห็นว่าการเป็นเสมียนมีศักดิ์ศรีสูงกว่าการเป็นชาวนา ชาวสวน หรือพ่อค้า คนก็มักจะใฝ่ทะเยอทะยานอยากเป็นเสมียนเมื่อกระทรวงทบวงการคัดเลือกเสมียนที่มีมากเกินความจำเป็นออกบุคคลเหล่านี้จะไม่สามารถไปทำงานอื่นได้ เพราะเคยเป็นเสมียนมานานผู้ที่เป็นเสมียนไม่อาจไปเป็นชาวนาได้ ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เห็นว่าไม่สมเกียรติของตน ไม่อาจไปอยู่ตามบ้านนอกได้ ดังนั้นจึงคงอยู่ในเมืองเพื่อหาตำแหน่งเสมียนต่อไป อายุมากขึ้นโอกาสยิ่งน้อยลง

ในตอนท้ายของบทความจบด้วยคำถามกระตุ้นให้คิดว่า สมควรหรือไม่ที่จะเปลี่ยนค่านิยมในการเป็นเสมียนแล้วหันไปทำงานอื่น ๆ ที่ทำประโยชน์ได้ดีกว่าการเป็นเสมียน

คุณค่าของเรื่อง

๑. เป็นตัวอย่างของบทความที่ดี
๒. เสนอข้อคิดเกี่ยวกับปัญหาของบ้านเมืองในเรื่องค่านิยมที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศให้เจริญ
๓. ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์ว่าอาชีพอื่นก็สามารถทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้

 

1296136699

สรุปประเด็นโคลนติดล้อ ๑๒ ตอน


ตอนที่ ๑ การเอาอย่างโดยไม่ตริตรอง
กล่าวถึงการทำตัวเอาอย่างตามชาวตะวันตกโดยไม่ตริตรอง ทำให้ชาวต่างชาติไม่นับถือเรา คนไทยจึงสมควรที่จะพยายามยกตัวเรา คิดทำอะไรด้วยตนเอง และสนับสนุนผู้มีความคิด
ตอนที่ ๒ การทำตนให้ต่ำต้อย
กล่าวถึงคนไทยไม่เชื่อถือคนไทยด้วยกัน แต่เชื่อว่าการทำอะไรให้ดีต้องอาศัยความช่วยเหลือจากชาวต่างชาติ
ตอนที่ ๓ การบูชาหนังสือเกินเหตุ
หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องแสดงความคิด สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้เขียนเขียนลงหนังสือพิมพ์นั้นดังนั้น ไม่ควรเชื่อทั้งหมด เพราะบางครั้งอาจมีความคิดเห็นคัดค้าน เคียดแค้น หรือใส่ร้าย ลงเรื่องไร้สาระ
ตอนที่ ๔ ความนิยมเป็นเสมียน
ผู้ที่มีการศึกษานิยมเข้ารับราชการใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ไม่สนใจกลับไปทำงานทำการเกษตรในภูมิลำเนาเดิม เข้าใจว่าการรับราชการ จะทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองได้มากกว่าชาวไร่ชาวนา พ่อค้า และงานอื่น ๆ
ตอนที่ ๕ ความเห็นผิด
คนไทยเห็นว่า การประพฤติตนตามแบบฝรั่งทั้งที่ไม่ใช่สิ่งดีก็เห็นว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ความเห็นผิดดังกล่าว เช่น การรับแขกด้วยวิสกี้และโซดา การเป็นหมอเป็นความแล้วถึงฝ่าฝืนกฎหมาย กฎหมายก็จะคุ้มครองตน อิสระ คือการทำสิ่งต่าง ๆ ได้ตามอำเภอใจ ไม่ว่าจะผิดหรือให้โทษเพียงใด
ตอนที่ ๖ ถือเกียรติไม่มีมูล
มีคนถือสิทธิ์ความเสมอภาค เห็นว่าคนย่อมเสมอกันโดยกำเนิด การจะแสดงความเคารพใครเป็นเครื่องแสดงความต่ำต้อย
ตอนที่ ๗ ความจนไม่จริง
คนไทยนั้นจนไม่จริง ในเมืองเรานังไม่เคยปรากฏว่ามีคนอดตายในเมืองเรายังมีการเล่นการพนัน แม้ชาวบ้านนอกก็ยังมีอาหารสมบูรณ์ การจนนั้นก็เพราะสุรุ่ยสุร่ายและเล่นการพนัน
ตอนที่ ๘ แต่งงานชั่วคราว
การที่แต่งงานที่พ่อแม่ขายลูกสาวให้แก่ชายโดยไม่ได้ถามความเห็นของหญิง เมื่ออยู่กันไปก็เหมือนตกนรกทั้งเป็น ครั้นผู้ชายรู้สึกเบื่อหน่ายก็อาจขับไล่หญิงนั้นไปไม่เลี้ยงดู ถ้ามีลูกก็ยิ่งลำบาก
ตอนที่ ๙ ความไม่รับผิดชอบของบิดามารดา
การแต่งงานชั่วคราวส่งผลให้บิดามารดาไม่รับผิดชอบ ไม่ทำหน้าที่พ่อแม่ที่ดี ซึ่งส่งผลให้ลูกมีปัญหา มีความประพฤติไม่ดี
ตอนที่ ๑๐ การค้าหญิงสาว
การค้าหญิงสาวเป็นสิ่งที่น่าละอายยิ่ง ผู้ชายชอบมีภรรยาลับซึ่งได้มาด้วยการตกลงให้เงินแก่พ่อแม่ของหญิง
ในระหว่างที่รักกันอยู่หญิงนั้นก็จะได้รับการเลี้ยงดูจากสามี แต่ถ้าสามีหมดรักก็ถูกทอดทิ้ง บ้างก็กลับไปอยู่กับพ่อแม่ บ้างก็ขายตัว การที่เป็นเช่นนี้นอกจากเป็นเพราะผู้ชายแล้ว แม่สื่อและพ่อแม่ที่ขายหญิงสาวก็ทำให้มีการค้าหญิงสาว
ตอนที่ ๑๑ ความหยุมหยิม
บุคคลที่มีนิสัยหยุมหยิม ถ้าไม่มีส่วนอยู่ด้วยก็จะไม่เห็นด้วยและจะขัดขวาง ไม่ให้กิจการดำเนินไป แม้จะเป็นกิจการสำหรับชาติ
ตอนที่ ๑๒ หลักฐานไม่มั่นคง
ผู้ที่บกพร่องในกิจการส่วนตัวเป็นผู้ที่มีหลักฐานไม่มั่นคง ตัวอย่าง ข้าราชการที่ชอบสมาคมกับนักเลง ชอบเล่นการพนัน หลักฐานไม่มั่นคงในบุคคล เป็นเหตุให้ชาวต่างชาติไม่ไว้ใจ ไม่เชื่อถือ ดังนั้น เราคนไทยต้องประพฤติตนเป็นคนซื่อตรงและสุจริต

1296136699